วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

เซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์ (บัวโบว์) (South African Mastiff (Boerboel))

เซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์ (บัวโบว์) (South African Mastiff (Boerboel))
เซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์ เป็นสุนัขที่เอาไว้เฝ้าบ้า เฝ้าไร่นา ดูแลปกป้องครอบครัวได้ดี


ลักษณะทั่วไป
     เซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์ เป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่เช่นเดียวกับสายพันธุ์มาสทิฟฟ์อื่นๆ  แข็งแรง มั่นใจในตัวเอง ศรีษะใหญ่ ผิวหนังของพวกเขาควรจะเป็นสีดำที่บริเวณใต้ท้อง ใต้ขน และหรือปาก ซึ่งจะช่วยป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ ขนของเซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์จะสั้น หนาแน่น มีทั้งสีน้ำตาลเหลือง สีน้ำตาล สีครีม และสีน้ำตาลแดง ส่วนที่มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “Boerboel” นั้น มีความหมายว่า สุนัขฟาร์ม พวกเขาถูกเลี้ยงไว้เพื่อใช้ในการทำงานในฟาร์มตามชนบทของแอฟริกาใต้ และเป็นเพื่อนที่ดีกับคน


ความเป็นมา
     ชอง แวน รีบีค เดินทางไปยังช่องแคบแอฟริกัน ในปี ค.ศ. 1652 และนำสุนัขของเขาติดไปด้วยเพื่อปกป้องครอบครัว จากป่าเขาหรือชนบทที่เขาไม่รู้จัก ซึ่งสุนัขของเขาเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า “บูลเลนบิทเจอร์” สุนัขสายพันธุ์มาสทิฟฟ์ร่างหนาใหญ่ ได้ผสมพันธุ์กับสุนัขพันธุ์พื้นเมืองของแอฟริกาใต้ แล้วให้ชื่อสายพันธุ์ที่เกิดจากการผสมพันธุ์นี้ว่า “บัวโบว์” (ชื่ออย่างเป็นทางการคือ เซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์) เพื่อนำมาใช้งานในฟาร์ม ล่าสัตว์ที่มารุกล้ำพื้นที่ หรือนำพวกเขาไปใช้ในเกมการล่าสัตว์อื่นๆ


 ลักษณะนิสัย
     เซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์ เป็นสุนัขที่เอาไว้เฝ้าบ้า เฝ้าไร่นา ดูแลปกป้องครอบครัวได้ดี พวกเขาจะเห่าคนแปลกหน้าหรือสัตว์แปลกๆที่มาบุกรุกให้ผู้เลี้ยงได้รู้ แต่ถ้าพวกเขาได้รับการแระนำให้รู้จักคนแปลกหน้า พวกเขาก็เรียนรู้ได้ดีว่านี่คือเพื่อนใหม่ หรือใครที่สามารถต้อนรับเข้ามาในบ้านได้ อย่างไรก็ตามแม้เซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์จะดูดุดันกับคนแปลกหน้า แต่พวกเขาก็รักรักครอบครัวมาก ชอบใช้เวลาร่วมกับครอบครัว พวกเขาสามารถเข้ากันได้ดีกับเด็กๆ ได้ทุกช่วงวัยเพราะทนทานต่อสภาพการเล่นอันรุนแรงของเด็กๆ ได้ ทว่าก็ไม่ควรปล่อยให้พวกเขาอยู่กับเด็กๆเพียงลำพัง ควรอยู่ในสายตาของผู้ใหญ่ นอกจากนี้พวกเขายังเข้ากันได้ดีกับสัตว์เลี้ยงอื่นๆ อีกด้วย


การดูแล
     เซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์ เป็นน้องหมาขนสั้น หนา จึงทำความสะอาดง่าย ควรแปรงขนครั้ง  - สองครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อผลัดขนเก่าทิ้งไป นอกจากนี้บริเวณด้านในขา ช่วงปลอกคอ และตามจุดอับต่างๆ ตามผิวหนังอาจมีเห็บกัดเกาะอยู่ ควรเชคดูเป็นประจำทุกๆ เดือน โดยแป้งกันเห็บหมัดให้เขาอย่างสม่ำเสมอ การน้ำควรอาบให้เดือนละครั้ง หากอาบมากเกินไปจะทำให้ผิวหนังแห้ง เป็นสะเก็ดได้ นอกจากนี้เซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์มีแนวโน้มที่จะแพ้แชมพูและครีมนวด ดังนั้นควรเลือกแชมพูสำหรับผิวแพ้ง่ายให้เขาโดยเฉพาะ อีกส่วนหนึ่งที่ต้องดูแลมากเป็นพิเศษคือฟัน ควรทำความสะอาดฟันให้เขาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อในปาก ฟันร่วง และมีกลิ่นปาก

     สำหรับการออกกำลังกาย แม้เซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์เป็นสุนัขตัวใหญ่แต่พวกเขาก็ไม่ได้ต้องการการออกกำลังกายมากเป็นพิเศษ เพียงมีพื้นที่วิ่งเล่น  หรือเล่นกับสุนัขตัวอื่นภายในบ้านก็เพียงพอ พวกเขาเป็ฯสุนัขที่สามารถหากิจกรรมเพื่อออกกำลังให้ตัวเองได้ อย่างไรก็ตามพวกเขาก็ชอบที่จะเดินเล่นออกกำลังกายร่วมกับเจ้าของ และสมาชิกในครอบครัว พวกเขาชอบเล่นวิ่งไล่ลูกบอลร่วมกับเด็กๆ ในครอบครัว แต่การพาเขาไปข้างนอก ผู้เลี้ยงก็ต้องมั่นใจว่าเซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์ที่เลี้ยงไว้จะอยู่ภายใต้การควบคุมได้แน่นอน ไม่เป็นอันตรายต่อคนที่วิ่งสวนไปมา



ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม
     เซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์ เหมาะกับการเลี้ยงในพื้นที่กว้างๆ ในบ้านก็ควรมีห้องหลายห้องให้เขาไปเดินไป เดินมา  มีสนามหญ้าให้เขาวิ่งเล่น ออกกำลังกายแต่ก็ควรมีรั้วรอบขอบชิด การทำความสะอาดไม่ยุ่งยากนัก อาบน้ำให้  2-3 สัปดาห์ต่อครั้ง แปรงขึ้นให้เป็นประจำ พวกเขาเป็นน้องหมานักพิทักษ์ปกป้องครอบครัว หากมีคนแปลกหน้ามาบ้าน ผู้เลี้ยงควรให้เขาทำความรู้จัก คุ้นเคยเพื่อให้เขายอมรับว่าคนที่เข้ามาในบ้านเป็นเพื่อนคนหนึ่ง ที่สำคัญถึงเขาจะตัวใหญ่แต่ก็ต้องการความรักจากครอบครัวมากๆ ไม่ควรปล่อยให้เขารู้สึกขาดความรัก ควรเอาใจใส่เขา และให้เขามีส่วนร่วมในครอบครัว


มาตรฐานสายพันธุ์

ขนาด เพศผู้มีส่วนสูงประมาณ 25-28 นิ้ว น้ำหนัก 70-90 กิโลกรัม ส่วนเพศเมียส่วนสูงประมาณ 23-25.5นิ้ว น้ำหนัก 70-90 กิโลกรัม

ศรีษะ มีลักษณะทรงเหลี่ยม แบน มีกล้ามเนื้อ กระดูกโหนกแกมชัดเจนแต่ก็ไม่ถึงกับแหลมโดดเด่นมากจนเดินไป จุดหักบริเวณใบหน้าลาดลงกำลังดี ไม่ชัดจนเกินไป

ฟัน ฟันขาว แข็งแรง ช่วงว่างระหว่างฟันกำลังดี  มีลักษณะฟันขนกรรไกร

ปาก ริมฝีปากล่างคล้อยลงแต่อวบอิ่ม ด้านริมฝีปากบนสัมผัสกับส่วนบนของริมฝีปากล่าง

ตา ดวงตามีขนาดปานกลาง มีแววฉลาด ขอบตากระชับไม่คล้อย นัยน์ตาสีน้ำตาลเข้ม ควรเป็นสีน้ำตาลที่เข้ามกว่าสีขน

หู หูมีขนาดปานกลาง รูปตัววี (V)  สองหูอยู่ห่างกันแต่ทิ้งลงขนาบกับ 2 หู เมื่อตื่นตัวหูจะกางกว้างขึ้นเล็กน้อย

จมูก รูจมูกใหญ่ กว้าง ดำสนิท เส้นจากจมูก เส้นตรงที่อยู่ใต้จมูกตั้งจากกับขากรรไกรล่าง

คอ ควรยาวพอประมาณ ลำคอควรตั้งบนหัวไหล่ แลดูมั่นคงกล้ามเนื้อแลเห็นเด่นชัด ขนบริเวณรอบคอห้ามมีการตกแต่ง

อก อกกว้างลึก ลึก และกว้าง กระดูกซี่โครงขยายกำลังดี และ กล้ามเนื้อแข็งแรง

ลำตัว หลังตรง กว้าง ขนานกับพื้นดิน ไม่ว่าจะยืนหรือเคลื่อนไหว ใต้ต้องค่อนข้างบึกบึน ลำตัวแน่นเป็นทรงเหลี่ยม กว้าง ลึก เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ดูแข็งแกร่ง

เอว -

ขาหน้า ขาหน้าแข็งแรง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ มองจากทางด้านข้างขาหน้าควรตั้งตรงตั้งแต่หัวไหล่ หากมองจากทางด้านหน้าขาทั้ง 2 ข้างต้องขนานกัน

ขาหลัง กระดูกขาหลังแข็งแรง ช่องโค้งหน้าขากระชับ มั่นคง แข็งแรง โค้งรับกับท่อนขากำลังดี ดูมีพละกำลัง เคลื่อนไหลมั่นคง หน้าแข้งท่อนขนกว้าง ลึก และมีกล้ามเนื้อสวยงาม ชัดเจน ส่วนหน้าแข้งด้านล่างกล้ามเนื้อได้รูป แข็งแรง ชัดเจนไปจนถึงช่วงขา

หาง หางจะทิ้งต่ำไปจนถึงช่วงขา แต่เมื่อเคลื่อนไหวหรือตื่นเต้น หางจะโค้งขึ้นเล็กน้อย

ขน ขนสั้น หนาแน่น ลื่น และเงางามเป็นประกาย ผิวหนังหนาและยืดหยุ่น

สีขน สีขนควรเป็นสีน้ำตาล สีแดงหรือสีน้ำตาลเหลือง มีสีขาวแต้มเพียงบริเวณขา และหน้าอก มีสีดำแต้มบริเวณริมฝีปาก ขนบริเวณหู  หรือถ้าหากมีสีเป็นลาย ซึ่งควรมีสีขาวไม่เกิน 33 เปอร์เซ็นต์ อยู่บริเวณ เท้า รอบคอ หรือขา



 ข้อควรจำ
     เซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์ เป็นสุนัขที่มีสุขภาพแข็งแรง แทบจะไม่ต้องหาไปสัตวแพทย์เพื่อรับการรักษาอาการใดๆ เป็นพิเศษ  แต่ก็สภาวะอาการ 2 ลักษณะที่อาจเกิดขึ้นกับเซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์โดยกรรมพันธุ์  นั่นก็คือ ช่องคลอดขยายซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะเพศเมียเท่านั้น  และ อีกอาการหนึ่งคือสะโพกเสื่อม ดังนั้นผู้เลี้ยงควรพาเขาไปตรวจร่างกายเป็นประจำเพื่อป้องกันสภาวะหรือโรคดังกล่าวตั้งแต่เริ่มต้น   


ที่มา :
http://www.terrificpets.com/dog_breeds/african_boerboel.asp
http://www.akc.org/breeds/south_african_boerboel/index.cfm





ซาลูกิ (Saluki)

ซาลูกิ (Saluki)
สง่างาม เฉลียวฉลาด คล่องแคล่ว ว่องไว



ลักษณะทั่วไป
     แม้ว่าซาลูกิจะมีความสง่างาม บอบบาง แต่มีความเฉลียวฉลาด คล่องแคล่ว ว่องไว แข็งแรง ทนทาน สมกับที่มีสายเลือดสุนัขล่าเนื้อ ซาลูกิมีขนยาวสลวยปกคลุมถึงช่วงขา  สีขนมีทั้งสีขาว สีครีม สีทอง สีแดง สีน้ำตาลลูกกวาง สีเทาผสมน้ำตาลแทน สีดำผสมสีน้ำตาลแทน หรือมีปนกัน 3 สี อายุโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 12 – 14 ปี



ความเป็นมา
     ซาลูกิมีถิ่นกำเนิดในประเทศอียิปต์  ในฐานะสุนัขของราชวงศ์แห่งอียิปต์  พวกเขาเป็นสุนัขที่ได้รับความชื่นชมและภาคภูมิใจว่ามีรูปร่างที่สง่างามมาก เฉกเช่นรูปลักษณ์ของกษัตริย์ฟาโรห์  แต่เดิมชาวอาหรับนำซาลูกิไปใช้ล่ากวาง เนื่องจากพวกเขาทนกับ สภาพอากาศแบบทะเลทราย ได้ดี สายตาว่องไว มีความสามารถในการล่าสัตว์ ซึ่งในปีค.ศ. 1840 ได้มีการนำเข้าซาลูกิยังประเทศอังกฤษเป็นครั้งแรก โดยถูกนำไปเลี้ยงไว้เพื่อล่ากระต่ายป่า


ลักษณะนิสัย
     ซาลูกิมีนิสัยรักอิสระเหมือนแมว ฉลาดหลักแหลม กล้าหาญ ซื่อสัตย์ แต่มีอ่อนไหวบ้าง เป็นมิตรกับผู้คน โดยเฉพาะกับคนในครอบครัว ไม่ก้าวร้าว ซาลูกิมีเชื่อสายของสุนัขล่าเนื้อ จึงเป็นสุนัขที่สามารถฝึกสอนให้เชื่อฟังได้ดี แต่ต้องอาศัยความอดทน พวกเขาต้องการพื้นที่โล่งกว้างสำหรับวิ่งเล่น ออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน 

การดูแล
     แม้ว่าซาลูกิจะอยู่ได้ดีภายในบ้าน แต่พวกเขาก็ต้องการออกไปนอกห้องหรือนอกบ้านบ้าง มีพื้นที่กว้างๆ ให้ได้ออกกำลังกาย โดยเฉพาะช่วงขาที่ยาวเป็นพิเศษ ซาลูกิชอบอยู่ในอากาศอบอุ่น แต่พวกเขาก็สามารถเจริญเติบโตได้ทุกที่ ควรแปรงขนให้อย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์  นอกจากขนแล้วยังต้องดูแลความสะอาดบริเวณตา หู และเท้า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ไม่ควรอาบน้ำเป็นประจำทุกสัปดาห์ ผิวหนังพวกเขาบอบบาควรใช้ยาสระขนชนิดอ่อน ควรปล่อยให้แห้งโดยแสงแดดตามธรรมชาติ และหมั่นดูแลดูบาดแผลที่เล็บซึ่งอาจเกิดขึ้นเวลาวิ่งเล่น


ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม
     มีพื้นที่สนามหญ้ารอบบริเวณบ้านให้เขาได้วิ่งเล่น ออกกำลังกายช่วงขา พาเขาวิ่งเล่นเป็นประจำทุกวัน อีกทั้งควรจะมีเวลาดูแลรายละเอียดในการรักษาทำความสะอาด  ผิวหนังของสุนัขพันธุ์ซาลูกิบอบบางมากต้องดูแลอย่างสม่ำเสมอ



มาตรฐานสายพันธุ์

ขนาด  เพศผู้มีความสูงโดยประมาณ 23 – 28 นิ้ว น้ำหนัก 20.5 – 29.5 กิโลกรัม ส่วนเพศเมีย ส่วนสูงประมาณ 18 – 26 นิ้ว น้ำหนัก 15.9 – 25 กิโลกรัม

ศรีษะ  ยาว ไม่กว้าง กว้างขึ้นช่วงระหว่างหูทั้ง 2 ข้าง บริเวณสันจมูกหักเข้าเล็กน้อยทอดตัวยาวแหลมไปจนถึงปลาย

ฟัน แข็งแรงและเรียงไล่ระดับอย่างเป็นระเบียบ

ปาก -

ตา ดวงตากลมโตรูปไข่ สีเข้มสุกใส ไม่โปนออกมานอกเบ้าตา

หู ยาวปกคลุมด้วยขนยาวสวยที่ทิ้งตัวลงมาตั้งแต่บริเวณศีรษะ

จมูก มีสีดำหรือด่าง

คอ ยาว เคลื่อนไหวได้ดี ยืดหยุ่น แต่มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง

อก ลึก แคบกำลังดี

ลำตัว  ลำตัวมีรูปทรงไข่ กล้ามเนื้อช่วงไหล่แน่น แข็งแรง หลังแบนราบ กล้ามเนื้อสะโพกโค้งเล็กน้อย

เอว -

ขาหน้า  ขาหน้าตั้งตรง ความยาวจากช่วงไหล่ถึงข้อเท้าจะยาวเป็นพิเศษ ไหล่ลาดเอียงไปทางด้านหลังกำลังดี มีกล้ามเนื้อแข็งแรง ไม่เหลวนุ่ม

ขาหลัง  แข็งแรง ช่วงต้นขาของขาหลังโค้งงอได้รูปลงไปจนถึงข้อเท้า เน้นให้เห็นรูปทรงขาที่สง่างามราวม้าแข่ง อีกทั้งเห็นถึงพลังและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพื่อช่วยให้การก้าวกระโดดมีประสิทธิภาพสูง

หาง ยาว ทิ้งต่ำ และโค้งตามธรรมชาติ มีขนยาวตรงสวยงามปกคลุม ที่ด้านนอกของหาง

ขน  ยาวเนียนนุ่มสลวยราวกับแพรไหม โดยเฉพาะขนยาวบางๆ ปกคลุมที่ขาทั้ง 4 ข้าง บริเวณด้านหลังของหน้าแข้ง บนหน้าแข้ง และไหล่

สีขน สีขนมีทั้งสีขาว สีครีม สีทอง สีแดง สีน้ำตาลลูกกวาง สีเทาผสมน้ำตาลแทน สีดำผสมสีน้ำตาลแทน หรือมีปนกัน 3 สี (ขาว ดำ และน้ำตาลแทน)


ข้อควรจำ
     35.6 เปอร์เซ็นต์ของซาลูกิ เสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ถัดลงมาเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ เช่น โรคหัวใจล้มเหลว ดังนั้น ผู้เลี้ยงควรดูแลเรื่องการกินและสภาพความเป็นอยู่ของพวกเขาเป็นอย่าง หมั่นพาไปตรวจสุขภาพ และฉีดวัคซีน เป็นประจำ


ภาพประกอบ:
www.asa.siu.edu
visitabudhabi.ae

www.dooziedog.com

ซามอยด์ (Samoyed)

ซามอยด์ (Samoyed)
ฉลาด อ่อนโยน เชื่อฟัง ซื่อสัตย์ ปรับตัวง่าย


ลักษณะทั่วไป
     โดยธรรมชาติแล้ว ซามอยด์เป็นสุนัขที่เลี้ยงไว้เพื่อใช้งาน มีความแข็งแรง กระตือรือร้นและตื่นตัว ดูแตกต่างจากรูปลักษณ์ภายนอกออกจะสวยและสง่างาม ขนหนาเหมาะกับอากาศหนาว สีขนมีทั้งสีขาวบริสุทธิ์ สีขาวผสมขนมปังกรอบ สีครีม หรือสีขนมปังกรอบ ซามอยด์เป็นที่รู้จักกันดีว่ามีริมฝีปากดำ หยักนิดๆ ที่มุมปาก จนได้รับขนานนาม “รอยยิ้มซามอยด์”  ซามอยด์เพศผู้จะมีช่วงหลังไม่ยาวนักเพราะความยาวที่มากจะทำให้หลังอ่อนแอ บาดเจ็บได้ง่าย แล้วด้วยเหตุนี้เอง พวกเขาจึงไม่ค่อยเหมาะกับการทำงานที่หนักหน่วงจนเกินไป แต่สำหรับเพศเมียช่วงหลังจะยาวกว่าเพศผู้นิดหน่อย พวกเขามีความสามารถทั้งในเรื่องของการลากเลื่อน การจูงลากดึงของที่มีน้ำหนัก ต้อนสัตว์ หรือแม้แต่แบกของให้แต่นักไต่เขา มีอายุได้ถึง 12-14 ปี


ความเป็นมา
     ซามอยด์เป็นสายพันธุ์สุนัขใช้งานที่เก่าแก่ มีเชื้อสายใกล้กับสุนัขพื้นเมือง ซึ่งการผสมพันธุ์ร่วมกับหมาป่าหรือสุนัขจิ้งจอก แล้วได้รับการพัฒนาสายพันธุ์โดยชาวซามอยด์ของไซบีเรีย เพื่อใช้ต้อนกวางเรนเดียร์ ลากเลื่อน  ซามอยด์ได้รับการดูแลจากชาวพื้นเมืองเป็นอย่างดี ถึงขนาดอนุญาตให้เข้าไปนอนในเต้นท์ได้ เพราะความเป็นความตายของพวกเขาขึ้นอยู่กับสุนัขสายพันธุ์นี้


 ลักษณะนิสัย
     ซามอยด์เป็นสุนัขที่มีความฉลาด อ่อนโยน เชื่อฟัง ซื่อสัตย์ เป็นมิตร กระตือรือร้น ปรับตัวง่าย พร้อมที่จะรับใช้เจ้าของ รักที่จะอยู่กับครอบครัวมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ต้องการความรักและการเอาใจใส่จากมนุษย์เป็นพิเศษ เข้ากันได้ดีกับเด็กๆ สามารถเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดในชีวิต แต่เนื่องจาก ได้รับมรดกตกทอดจากเชื้อสายสุนัขใช้งาน พวกเขาจึงต้องคิดหา สร้างสรรค์กิจกกรมที่ทำให้เขาเพลิดเพลินด้วยตัวเอง เช่น ไล่จับสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะสิ่งของ หนู หรือแมว อะไรก็ตามที่ตัวเล็กๆ ชอบวิ่ง และชอบเห่า เพื่อเป็นหนทางในการปลอดปล่อยพลังงาน แทนการทำงานหรือกิจกรรมหนักๆที่พวกเขาไม่ได้ทำ 


 การดูแล
     การทำความสะอาดซามอยด์ควรอาบน้ำให้ประมาณเดือนละครั้ง ไม่ควรอาบบ่อยจนเกินไป เพราะจะล้างน้ำมันที่ขนและผิวหนังซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติออกไป ทำให้ผิวแห้งและก่อให้เกิดโรคผิวหนังตามมา  ขนของพวกเขา มักจะพันกันยุ่งเหยิง ควรแปรงขนเป็นประจำทุกสัปดาห์ และแปรงบ่อยครั้งขึ้นช่วงฤดูผลัดขน

     อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ซามอยด์เป็นสุนัขที่มีไว้ใช้งาน เมื่อนำมาเลี้ยงตามบ้าน จึงมีพลังงานเหลือเฟือ ดังนั้นการออกกำลังกายทุกวันเป็นประจำจึงจำเป็นมากๆ สำหรับพวกเขา เพื่อเผาผลาญพลังงาน เพราะถ้าพวกเขารู้สึกเบื่อหน่าย จะเกิดอาการพาล อารมณ์ไม่ดี วิ่งไปมา หรือเห่า อาจถึงขั้นทำลายข้าวของ เช่นเดียวกับเวลาที่เขาเกิดความวิตกกังวลกระวนกระวาย จึงควรพาเขาไปวิ่งหรือออกกำลังกายในพื้นที่กว้างๆ เช่นสนามหญ้าหรือสวนสาธารณะ แต่ซามอยด์ค่อนข้างตื่นตระหนกได้ง่าย และชอบเห่า จึงไม่ควรพาเขาออกไปอยู่ข้างนอกเป็นเวลานาน

     ซามอยด์ต้องการความรักและต้องการอยู่ร่วมกับคนในครอบครัวเป็นอย่างมาก จึงไม่ควรทิ้งเขาให้อยู่บ้านตัวเดียว พวกเขาไม่สามารถอยู่ได้ตามลำพังนานจนเกินไป


 ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม
     ผู้ที่ต้องการเลี้ยงซามอยด์ ต้องมีเวลาให้เขาเป็นอันดับแรก เพราะพวกเขารักที่จะอยู่กับคนในครอบครัว การทิ้งให้เขาอยู่ตามลำพังเกินหนึ่งชั่วโมง สามารถทำให้เขารู้สึกไม่มั่นคง และไม่มีความสุข และอาจทำลายข้าวของเวลาที่เจ้าของบ้านไม่อยู่ แล้วถึงแม้พวกเขาจะสามารถเลี้ยงได้ในพื้นที่แคบๆ นอนอยู่ในห้องบนโซฟากับเจ้าของ แต่การออกกำลังกายทุกวันก็ยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับซามอยด์ เพื่อจัดการกับพลังงานที่เหลือใช้ได้มีทางปลดปล่อย เผาผลาญพลังงาน จะได้ไม่วิ่งซนไล่กัดสัตว์ตัวเล็ก หรือเห่าไม่ยอมหยุด จนกลายเป็นปัญหาของครอบครัว


 มาตรฐานสายพันธุ์

ขนาด ซามอยด์เพศผู้ จะมีส่วนสูงอยู่ระหว่าง 21 - 23.5 นิ้ว น้ำหนัก 20 - 30 กิโลกรัม ส่วนเพศเมีย มีส่วนสูงประมาณ 19 - 21.5 นิ้ว น้ำหนัก 17 - 25 กิโลกรัม

ศรีษะ  ศีรษะ มีลักษณะเป็นรูปลิ่ม กว้าง แต่แคบลงนิดหน่อย ศีรษะไม่กลม หรือเป็นรูปทรงผลแอปเปิ้ล หากเป็นทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า ระหว่างเส้นโคนหูทั้ง 2 ข้าง และจุดกึ่งกลางที่ตำแหน่งช่วงหักของสันดั้งจมูก

ฟัน  แข็งแรง จัดเรียงสวยงาม ฟันบนล่างซ้อนกันพอเหมาะพอดี ตามแบบลักษณะฟันกรรไกร

ปาก  สีดำ ริมฝีปากกระชับ ไม่ย้อยลงมา  มีรอยหยักล้ำออกไปนิดหน่อยบริเวณมุมปาก ดูเป็นรอยยิ้ม อย่างที่รู้จักกันดีว่า  “รอยยิ้มซามอยด์”

ตา  รูปตาเป็นวงรี ทรงอัลมอนด์ ลูกตามีสีเข้ม ตาลึก ขอบตาดำ  หางตาช่วงล่างตวัดขึ้นไปยังตำแหน่งฐานหู

หู  ใบ หูหนาและแข็งแรง ตั้งตรง เป็นทรงสามเหลี่ยม ส่วนบนสุดของใบหูโค้งมนเล็กน้อย หูทั้ง 2 ข้างควรมีขนาดพอเหมาะกับขนาดศีรษะและขนาดตัว ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป ความยาวของหูควรเป็นความยาวเดียวกับระยะห่างระหว่างโคนหูถึงมุมหางตา ภายในหูมีขนปกคลุม และด้านนอกใบหูก็เช่นกัน

จมูก ดำสนิท แต่สีจมูกสามารถเปลี่ยนไปได้ ตามอายุหรือสภาพอากาศ

คอ  แข็งแรง ตั้งตรง สง่างาม กล้ามเนื้อแข็งแรงได้รูป ลาดลงโค้งรับต่อกับช่วงไหล่สง่างาม น่ามอง

อก อก ลึก กระดูกซี่โครงขยายออกกว้าง ช่วยให้ขาหน้าและไหล่เคลื่อนไหวได้ดี ถ้าช่วงอกที่ลึกที่สุดอยู่ในตำแหน่งด้านหลังของขาหน้า ใกล้กับซี่โครงซี่ที่เก้า จะถือว่าเป็นช่วงอกที่สมบูรณ์แบบมากๆ ซึ่งช่วงอกที่ลึกสามารถเก็บรักษาหัวใจและปอดได้ดีและปลอดภัยกว่าช่วงอกที่ กว้าง

ลำตัว กระดูก และกล้ามเนื้อแข็งแรงมีประสิทธิภาพ รูปทรงมีลักษณะกลมสมดุล  กระดูกหนากว่าสุนัขที่มีขนาดเท่ากันแต่ไม่ใหญ่มากจนเกินไป เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วของซามอยด์ ส่วนลำตัวที่สูงที่สุดของซามอยด์อยู่บริเวณแผ่นหลัง ยาวตรงไปยังสะโพกที่แข็งแรง โค้ง  อกลึก กระดูกซี่โครงขยายกำลังดี กล้ามเนื้อแข็งแรง กระชับ ไม่หย่อนคล้อย มีความยาวของลำตัวยาวกว่าส่วนสูงเพียงประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ จึงมีรูปทรงลำตัวเป็นสี่เหลี่ยม แต่ซามอยด์เพศเมียจะมีลำตัวยาวกว่าเพศผู้เล็กน้อย

เอว -

ขาหน้า  ตั้งตรง และตั้งฉากกับพื้น แข็งแรง มีพลัง ช่วยให้การก้าวกระโดดมั่นคง ช่วงไหล่ทั้งสองข้างยาวและลาดต่ำลงสวยงาม

ขาหลัง  กล้ามเนื้อขาหลังท่อนบนแข็งแรง  กระดูกขาค่อนข้างใหญ่  ข้อเท้าทำมุมพอประมาณ  มีขนหนาบนบริเวณด้านหลังขา

หาง  ควร มีความยาวพอดี ปกคลุมด้วยขนยาวเป็นพวง เมื่อทิ้งหางลง ปลายหางจะอยู่ระหว่างข้อเท้าหลัง แต่เมื่อตื่นตัวจะยกหางพาดด้านหลังหรือด้านข้าง แล้วจะตกลงเมื่อผ่อนคลาย

ขน  มี ขน 2 ชั้น ชั้นแรกจะสั้น นุ่ม และหนา ติดกับชั้นขนที่ยาวกว่า และหยาบกว่าซึ่งอยู่ชั้นนอก ขนของชามอยด์มีความเงางาม  บริเวณรอบคอและไหล่ขนฟูหนาเป็นแผงคอช่วยให้ทนต่อสภาพอากาศที่หนาวเย็น โดยปกติแล้วขนบริเวณคอของเพศผู้จะยาวกว่าเพศเมีย แต่จะมีความนุ่มมากกว่า

สีขน  ควรเป็นสีขาวบริสุทธิ์ สีขนมปังกรอบ (สีน้ำตาลออกขาวๆ)  สีขาวผสมสีน้ำตาลขนมปังกรอบ  หรือสีครีม


 ข้อควรจำ
     ซามอยด์ต้องการความรักและการเอาใจใส่จากครอบครัวอย่างมาก อีกทั้งควรระวังโรคเกี่ยวกับสะโพกเสื่อม ต้อกระจก ต้อหิน ประสาทตาเสีย ซึ่งอาจมีผลทำให้ตาบอดได้ และโรคเบาหวาน ดังนั้นจึงควรพาไปตรวจร่างกายเป็นประจำ

ภาพประกอบ:
http://www.thedogsbreeds.com/samoyed/
http://www.animalwallpaper.org/wp-content/uploads/2011/03/COC..-1398-%C3%97-1088-Samoyed-Wallpaper-3.jpg
http://www.dooziedog.com/dog_breeds/samoyed/images/Samoyed-5.html
http://petcollectionworld.com/dog/samoyed-dog-puppies/

เชา เชา (Chow Chow)

เชา เชา (Chow Chow)
ขนฟูตัวใหญ่ ดมกลิ่นเก่งสุดๆ


ลักษณะทั่วไป 
     เชาเชาเป็นสุนัขที่มีพละกำลังเยอะมาก คล่องแคล่วว่องไวและตื่นตัวอยู่เสมอ มีขนหนาแน่นโดยเฉพาะที่รอบคอ ขนมีความมันวาวเป็นประกาย ทำให้ดูมีความสง่างามและมีความเป็นธรรมชาติ หน้าตาดุดัน ออกจะวางท่าสุขุมพอสมควร


ความเป็นมา 
     เชาเชา มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน เป็นพันธุ์ผสมระหว่าง มาสตีฟและชามอย และภายหลังเริ่มมีชื่อเสียงในประเทศอังกฤษด้วยเพราะได้รับความสนใจจากพระนางวิคตอเรีย ปัจจุบันเป็นที่นิยมไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย


ลักษณะนิสัย 
     เป็นสุนัขที่มีความเฉลียวฉลาด มีการตัดสินใจที่ดี รักสงบและความอิสระ ที่สำคัญเชาเชาชอบวางท่าสุขุมเป็นผู้ดี มีความสามารถในการดมกลิ่นเป็นเลิศ อารมณ์ดี รักอิสระและซื่อสัตย์มาก และชอบเล่นกับคนในครอบครัวมากกว่าคนแปลกหน้า


การดูแล 
     เรื่องของความสะอาด ผู้เลี้ยงควรหมั่นอาบน้ำให้บ่อยๆ เพราะเป็นเชาเชาเป็นสุนัขที่รักความสะอาดมาก การแปรงและหวีขนเป็นประจำเพื่อทำให้ขนดูสวยอยู่เสมอ และช่วยป้องกันไม่ให้ในบ้านไม่เต็มไปด้วยขน ที่เกิดจากการผลัดขนของสุนัข ... ในเรื่องของสุขภาพผู้เลี้ยงจะต้องมีเวลาพาเชาเชา ไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ผู้เลี้ยงยังต้องหมั่นดูและเรื่องสุขภาพผิวหนังของสุนัข เนื่องจากสุนัขเชาเชามีโรคประจำตัวคือผิวหนังอักเสบ มีน้ำเหลืองเยิ้ม กระดูกข้อต่อของช่วงขาไม่แข็งแรง และการม้วนกลับของหนังตา ทำให้ขนตากลับไปทิ่มแทงลูกตา แต่ก็สามารถแก้ไขโดยการผ่าตัด


ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม 
     ผู้เลี้ยงที่จะเลี้ยงสุนัขเชาเชาได้ดีนั้นคนที่มีเวลาเรื่องการตัดแต่งขนและการออกกำลังกายให้กับเชาเชาได้ และสุนัขเชาเชาจะรู้สึกว่าผู้เลี้ยงเหมือนเพื่อนเล่นมากกว่าเจ้าของ


 เกร็ดความรู้
   เชาเชาเป็นสุนัขที่รักสะอาดอย่างมากและมักจะทำความสะอาดหน้าของเขาเองหลังจากการกินด้วย




มาตรฐานสายพันธุ์

ขนาด สูงประมาณ 17 – 20 นิ้ว หนัก 24 - 27 กิโลกรัม

ศรีษะ มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว กะโหลกแบนกว้าง สันจมูกสั้น ริมฝีปากเต็มและยื่น

ฟัน ฟันขาว แข็งแรง ประกบกันพอดี  

ปาก ริมฝีปากดำ ริมฝรปากบนห้อยลงมาเล็กน้อย 

ตา สีดำปานกลาง รูปทรงคล้ายอัลมอนด์ ขอบตาสีดำ   

หู ใบหูเล็ก ปลายหูโค้งมนเล็กน้อย หูแข็งและตั้งชันขึ้นแต่เอียงออกด้านข้างหรือด้านหน้าเล็กน้อย

จมูก จมูกสีดำ และสีน้ำตาล

คอ มีกล้ามเนื้อแข็งแรง คอกลมๆ ความยาวพอเหมาะดูสง่างาม

อก อกกว้าง ลึก

ลำตัว สั้นกระทัดรัด ซี่โครงผายออก ลำตัวสูงใกล้เคียงกับความยาวของลำตัว หลังขนานตรงกับพื้น

เอว -

ขาหน้า ขาหน้าตั้งฉากกับพื้น กระดูกใหญ่ เท้าหน้าชี้ตรงไม่บิดเบี้ยว

ขาหลัง ลักษณะเหมือนกับเท้าหน้า

หาง โคนหางอยู่ในระดับสูง หางพาดแนบหลัง

ขน ขนยาวปานกลาง ฟูเป็นขน 2 ชั้น 

สีขน มีสีน้ำตาลแดง น้ำตาลอ่อน สีขาวครีม


ที่มา :
www.pedigree.co.th / www.petloversclub.com / http://en.wikipedia.org

ภาพประกอบ :
http://chowchowdog.net/
http://icd.kmf.de/country_breeds/template/562?page=0

http://www.chowchowbranco.com/

เชดแลนด์ชิพด๊อก (Shetland Sheepdog)

เชดแลนด์ชิพด๊อก (Shetland Sheepdog)
แข็งแรง สง่างาม


ลักษณะทั่วไป
     เป็นสุนัขที่มีความกระตือรือล้นสูง มีความแข็งแรงมาก เพราะมีคุณลักษณะในแบบสุนัขดูแลแกะ เป็นสุนัขที่มีความเฉลียวฉลาด เชดแลนด์ชิพด๊อกอาจจะเรียกได้ว่าเป็นคอลลี่รุ่นเล็ก คนยาวปานกลาง แลดูสวยงาม ขนหนา รูปร่างดูปราดเปรียวว่องไว เหมาะกับเป็นน้องหมาต้อนแกะ


ความเป็นมา
     เป็นการผสมกันระหว่างสุนัขพันธุ์คอลลี่ (Collie) กับสุนัขสายพันธุ์ดั้งเดิมที่อาศัยอยู่บนเกาะเซทแลนด์ที่เป็นกลุ่มสายพันธุ์สปิตซ์ (Spitz Type) และมีส่วนผสมของสายพันธุ์ ไอซ์แลนด์ดิก ชีพด็อก สำหรับ สุนัข เชทแลนด์ ชีพด็อก ตัวแรกที่ได้ขึ้นทะเบียนกับสมาคมสุนัข ประเทศอังกฤษ ในปี 1909 เป็นสุนัขเพศเมีย ชื่อ Badenock Rose และ เชทแลนด์ ชีพด็อก ตัวแรกที่ได้ขึ้นทะเบียนกับสมาคมสุนัข ประเทศอเมริกา ในปี 1911 คือ Lord Scott

 ลักษณะนิสัย
     มีความเฉลียวฉลาด รักเด็ก มีความรับผิดชอบ มีสัญชาตญาณที่ดี ซื่อสัตย์ ชอบความสงบ สามารถฝึกได้โดยง่าย ไม่ใส่ใจกับคนแปลกหน้าโดยจะแสดงอาการไม่ใส่ใจ ร่าเริง วิ่งเร็วและกระโดดเก่ง


 การดูแล
     พาไปออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่ต้องอาบน้ำบ่อย แต่ถ้าอยู่ในเมืองไทย ออกกลางแจ้งบ่อยๆ ก็ควรอาบ 1ครั้งต่อ 1-2 สัปดาห์ สิ่งที่สำคัญมากที่สุดสำหรับการดูแลสุขภาพขนคือการแปรงขนเป็นประจำทุกวัน เพื่อป้องกันขนพันกัน ติดเป็นสางกะตัง 

 ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม
     ผู้ที่ต้องการเลี้ยง เชดแลนด์ชิพด๊อกควรมีบ้านที่มีอาณาบริเวณ มีรั้วรอบขอบชิดให้พวกเขาได้วิ่งเล่น เพราะพวกเขาเคยเป็นน้องหมาต้อนเก็บมาก่อน ธรรมชาติจะชอบอยู่อย่างอิสระ มีพื้นที่ให้ได้วิ่งไปมา นอกจากนี้ผู้ต้องการเลี้ยงพวกเขาควรเวลาดูแลเรื่องขนให้แก่เขาเป็นประจำทุกวัน พาไปตัดแต่งทรงขน ทำความสะอาดหู เล็บเท้า เพื่อให้พวกเขาเป็นสุนัขที่สวยงาม สุขภาพดี


มาตรฐานสายพันธุ์
ขนาด ส่วนสูง  13-16 นิ้ว น้ำหนัก 6-11.5 ปอนด์ 

ศรีษะ มองจากด้านบนหรือด้านล่างมีลักษณะแบบลิ่ม

ฟัน ฟันขาวสะอาด ขากรรไกรแข็งแรง มีลักษณะฟันแบบขบกรรไกร

ปาก กระบอกปากยาวแหลม ริมฝีปากดำ กระชับชุ่มชื้น

ตา ขนาดปานกลาง คล้ายเม็ดอัลมอนด์ มีสีดำ สีฟ้า

หู เล็ก ตั้งสูง หักปลายและนิ่ม

จมูก ต้องมีสีดำ 

คอ คอตั้งตรง และได้สัดส่วนกับบ่าถึงช่วงลำตัว อกลึก และได้สัมพันธุ์ กับข้อศอก เพื่อความสวยงามในการเดิน

อก อกลึก ซี่โครงขยายกำลังดี

ลำตัว ลำตัวได้ระดับ ท้องจะโค้งขึ้นเล็กน้อย ลำตัวค่อนข้างยาวกว่าช่วงขา หลังแข็งแรง

เอว -

ขาหน้า กระดูกค่อนข้างใหญ่ ขาหน้าตรง ข้อเท้าสั้น มองทางด้านหน้าขาจะขนานกันและห่างกันพอสมควร

ขาหลัง ขาหลังแข็งแรง ช่วงต้นขายาวกว่าช่วงท่อนขาล่าง ซึ่งตรง แข็งแรง มองจากด้านหลังขนานกันทั้ง 2 ข้าง

หาง ควรจะยาวมากพอ เวลาสุนัขตื่นตัวหางจะชูขึ้น

ขน ยาวปานกลาง ขน 2 ชั้นหนาฟู ทั่วทั้งตัว ยกเว้นบริเวณใบหน้า  

สีขน สีมีหลากสีแต่มีสีหลัก คือ sable&white,black


 ข้อควรจำ       
      เชดแลนด์ชิพด๊อกต้องระวังเรื่องโรคสะบ้าเคลื่อน โรคสะโพกเคลื่อน หูอักเสบ โรคต่างๆ เกี่ยวกับดวงตา และอาจจะต้องระวังสำหรับบางตัวที่อาจมีอาการเลือดหยุดออกยาก จึงควรระวังเรื่องการเคลื่อนที่ของพวกเขา ทำความสะอาดหูอย่างสม่ำเสมอ ควรพาน้องหมาไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ หากมีอะไรผิดปกติควรไปพบแพทย์


ที่มา:
en.wikipedia.org/wiki/Shetland_Sheepdog,
นิตยสาร Thailand Pet Journal,www.orkennel.com

ภาพประกอบ :

commons.wikimedia.org
www.dailypuppy.com

ชิสุ (Shih-Tzu)

ชิสุ (Shih-Tzu)
ตัวเล็ก อดทน แข็งแรง และมีเสน่ห์


ลักษณะทั่วไป 
     ชิสุเป็นสุนัขที่แข็งแรง ร่าเริง กระตือรือร้น บรรพบุรุษเป็นสุนัขของชนชั้นสูงในจีน จึงมีลักษณะสง่างาม หัวเชิด หางโค้งงอมาถึงหลัง ถึงแม้จะมีขนาดแตกต่างกันแต่โดยทั่วไปชิสุจะต้องตัวเล็กกะทัดรัด กระนั้นก็ไม่ถึงกับบอบบาง ต้องมีสุขภาพดีและมีโครงสร้างที่ได้มาตรฐาน

ความเป็นมา
     ชิสุ ชื่อของสุนัขพันธุ์นี้มาจากภาษาจีน แปลว่า สุนัขสิงโตเป็นสุนัขในสามสายพันธุ์ชั้นสูง พวกเดียวกับปักกิ่งและปั๊ก เป็สุนัขที่หรูหราที่สุดจากจักรพรรดิจีน โดยกล่าวว่าพระทิเบตมอบสุนัขพันธุ์ชิสุให้จักรพรรดิจีนเป็นของกำนัล สุนัขพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักนอกอาณาจักรจีนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1903 เริ่มจากอังกฤษ ฝรั่งเศส ชิสุเป็นสุนัขตัวเล็กขนยาว เจ้าเสน่ห์มีหางไม่ยาวนักยกสูงขึ้นเหนือหลัง ขนที่หัวมักจะโดนรวบขึ้นแล้วผูกโบว์สีแดงดูสะดุดตามาก มีท่วงทำนองการเดินสูงศักดิ์แบบขุนนาง แต่ลักษณะการเห่าของชิสุจะมีความเป็นเฉพาะตัวอย่างมาก เนื่องจากส่วนใหญ่มันจะเห่าทักทายด้วยเสียงใหญ่ดังน่ากลัวมากตลอดเวลาจนกว่าเจ้าของจะปรามถ้าเป็นแบบทีคัพก็จะยังดังอยู่มากด้วย


ลักษณะนิสัย
     ปกติชิสุจะมีนิสัย ดุ เห่าเก่งมากและดังมากดูจะเป็นสุนัขอารมณ์ศิลปินซะด้วย หลายครั้งที่พบว่ามันจะไม่เชื่อฟังเจ้าของถ้ามันไม่อยากทำซะอย่าง ขี้ประจบ ตื่นตัว รักษาสะอาด เป็นมิตร ทำให้ปรับตัวได้ดี ชิสุชอบวิ่งและรักความสนุกซึ่งเจ้าของจำเป็นจะต้องพามันออกไปวิ่งออกกำลังกายบ้าง


การดูแล  
     ชิสุเป็นสุนัขที่เหมาะจะเลี้ยงไว้ในบ้าน ผู้เลี้ยงควรจูงเขาเดินเล่นเป็นประจำวัน ควรอาบน้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และเป่าขนให้แห้งทันทีหลังจากที่อาบน้ำเสร็จ กำจัดเห็บหมัดอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อขนของชิสุ ยาว ผู้เลี้ยงควรพาไปตัดแต่งขนและดเล็บอย่งสม่ำเสมอ ส่วนอาหารนั้นผู้เลี้ยงควรให้อาหาร 2 ครั้งต่อวัน ควรให้อาหารตรงเวลา และอาหารที่ให้ควรเป็นอาหารเม็ดมากกว่าอาหารกระป๋อง เพราะชิสุมีขนยาว หากให้กินอาหารกระป๋องจะทำให้เลอะและมีกลิ่นปากได้ ด้านการดูแลสุขภาพผู้เลี้ยงควรพาชิสุไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคสุนัขบ้าและวัคซีนอื่นๆ ตามตารางที่สัตว์แพทย์ได้กำหนด และควรดูแลสุนัขอย่างใกล้ชิด ไม่ควรปล่อยให้อยู่ในบ้านตัวเดียวนานๆ เพราะสุนัขอาจมีอาการซึมเศร้าได้

 ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม
     ชิสุ มีบุคลิกกระฉับกระเฉง สามารถให้ความรักกับสุนัขได้ มีเวลาในการดูแลเอาใจใส่ เช่น เล่น แปรงขน ฝึกให้เข้าสังคม เป็นต้น ไมม่จำเป็นต้องมีพื้นที่กว้าง สามารถอยู่ได้ที่อพาร์ตเม้นท์ แต่ควรจะมีเวลาพาไปออกกำลังกาย เผาผลาญพลังงาน ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และให้ได้มีโอกาสพาออกไปรู้จักสังคม จะได้ไม่ดุ และอารมณ์ฉุนเฉียวง่ายเมื่อพบเจอคนแปลกหน้า 


 มาตรฐานสายพันธุ์

ขนาด ความสูงวัดจากพื้นถึงแนวหลังคือ 9 - 10.5 นิ้ว ไม่ต่ำกว่า 8 นิ้ว และไม่เกิน 11 นิ้ว น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ควรอยู่ระหว่าง 9 - 16 ปอนด์  

ศรีษะ กลม กว้าง มีขนาดพอดีกับลำตัว

ฟัน มีขนาดสั้น ปากไม่แหลม ไม่มีรอยย่นของผิวหนังรอบปาก

ปาก ต้องขบสนิท เรียบ ฟันล่างขบฟันบนเล็กน้อย ขบแบบเสมอ หรือ UNDERSHOT เล็กน้อย อย่าให้ฟันบนเกยฟันล่างเด็ดขาด

ตา ใหญ่ กลม ไม่ปูดโปน ตั้งอยู่ห่างกัน มองตรงไปข้างหน้า ดวงตาสีดำสนิท ยกเว้นชิห์สุที่มีสีเหลืองหรือสีน้ำเงินอาจมีสีตาอ่อนลงได้

หู ใหญ่ ตั้งอยู่ต่ำกว่าขอบข้างของกะโหลกเล็กน้อย มีขนหนา

จมูก สีดำ เงาเป็นมัน

คอ เชื่อมต่ออยู่กับช่วงไหล่อย่างสวยงาม มีความยาวเหมาะสมพอที่จะยกหัวขึ้นและดูสง่างามได้ นอกจากนี้ยังต้องยาวสมดุลกับความยาวและความสูงของลำตัว

อก กว้างและลึก ไหล่ดูมั่นคงแข็งแรง แผ่นหลังตรงได้สัดส่วน

ลำตัว สั้น หนา ไม่มีเอวหรือส่วนเว้าที่ช่วงเอว มีสัดส่วนความยาวมากกว่าความสูงเล็กน้อย ข้อบกพร่อง

เอว -

ขาหน้า ตรง กระดูกแข็งแรง มีกล้ามเนื้อ วางอยู่ใต้อกและห่างกันพอดี ข้อศอกอยู่ชิดกับลำตัว

ขาหลัง ตรง กระดูกแข็งแรง มีกล้ามเนื้อ เมื่อมองจากด้านหลังไม่อยู่ชิดกันเกินไป ควรอยู่ในแนวเดียวกับขาหน้า

หาง ตั้งอยู่สูง มีขนยาว หนา หางงอโค้งขึ้นไปบนหลัง

ขน มีขนหนาสองชั้น ขนยาวสลวย อาจหยิกเป็นคลื่นได้เล็กน้อย ขนที่หัวยาวต้องผูกจุกรวบไว้ ข้อบกพร่อง ขนบาง มีขนชั้นเดียว ขนหยิก   

สีขน มีสีและลายอย่างไรก็ได้ 


ข้อควรจำ
     ชิสุมีปัญหาเรื่องโรคผิวหนังได้ง่าย ควรใช้แชมพูสำหรับแพ้ง่าย ไม่ควรใช้แชมพูของคนเด็ดขาด ควรแปรงขนเป็นประจำทุกวันเพื่อขจัดขนที่ตายแล้ว รวมทั้งรังแค นอกจากนี้ชิสุยังมีโรคประจำสายพันธุ์คือ โรคหลอดลมตีบ โรคตาแห้ง โรคเชอร์รี่อาย และ โรคหูอักเสบ หากพบมีว่าผิวหนังมีอาการผิดปกติควรปรึกษาสัตวแพทย์

ภาพประกอบ:
http://www.wallpaperswala.com/shih-tzu/
http://quezoncity.olx.com.ph/shih-tzu-puppies-100-pure-breed-iid-465583299
http://www.tumblr.com/tagged/shih%20tzu%20puppy


ชิวาวา (Chihuahua)

ชิวาวา (Chihuahua)
น้องหมาตัวจิ๋ว ขนาดกะทัดรัด ฉลาดและร่าเริง


ลักษณะทั่วไป
     ชิวาวา เป็นสุนัขขนาดเล็ก ถือว่าตัวเล็กที่สุดในโลก!! หูมีขนาดใหญ่ ดวงตากลมโต เหมาะที่จะใช้เลี้ยงเป็นเพื่อน ชอบออกไปเดินเล่นกับเจ้าของ เห่าเสียงดัง ค่อนข้างติดเจ้าของและไม่ทำลายข้าวของ


 ความเป็นมา
     ชิวาวาหรือเจ้าชิวาว่ามีต้นกำเนิดที่ประเทศเม็กซิโก ชาวพื้นเมืองนิยมเลี้ยงเพราะมีความเชื่อถือในเรื่องโชคลางต่างๆ จนถึงขั้นมีการนำชิวาวาไปใช้ในพิธีบูชายันต์!!


 ลักษณะนิสัย
     ชิวาวาเป็นสุนัขมีความฉลาดและจงรักภักดีต่อเจ้าของมา กเมื่อเทียบกับสุนัขพันธุ์อื่นๆ โดยปกติมักเป็นสุนัขที่เงียบสงบไม่ค่อยเห่าส่งเสียงร บกวน เว้นแต่จะถูกรบกวนหรือทำตกใจจึงจะเห่าเพื่อรักษาที่อ ยู่อาศัยของตัวเอง นอกจากนี้ยังมีนิสัยกล้าหาญมักจะยืนหยัดต่อสู้กับสุนัขตัวอื่นๆ ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กกว่า แต่ก็มีอัธยาศัยที่ดีกับสุนัขตัวอื่นหรือสัตว์เลี้ยง ชนิดอื่นๆ

 การดูแล 
     วงอายุที่ต้องการเอาใจใส่มากที่สุดในการเลี้ยงชิวาวาเพราะสุนัขจะตายมากที่สุดคือช่วงอายุระหว่าง 2-3 เดือน เนื่องจากวัยนี้เป็นช่วงที่สุนัขเพิ่งเริ่มอดนมใหม่ๆ ซึ่งหากลูกสุนัขกินอาหารอะไรที่ผิดไปเพียงนิดเดียว ก็จะส่งผลให้สุนัขท้องเสียได้ โดยถ้าสุนัขตัวไหนไม่มีภูมิต้านทานได้รับเชื้อก็อาจจะถึงตายได้เหมือนกัน แต่หลังจากช่วงอายุ 2-3 เดือนไปแล้ว ก็สามารถที่จะเอาใจใส่น้อยลงได้

     แล้ววิธีสังเกตง่ายๆ ว่าสุนัขมีอาการผิดปกตินั้นให้สังเกตจากการที่สุนัขไม่ค่อยกินข้าวหรือกินข้าวน้อยลงก็ขอให้สงสัยไว้ก่อนว่าสุนัขกำลังจะไม่สบาย และส่วนการให้อาหารนั้นผู้เลี้ยงสามารถเลือกซื้ออาหารสุนัขสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดมาให้กับสุนัขกินได้เพียงแต่เลือกให้เหมาะสมกับสุนัขเท่านั้น

     ในเรื่องของการออกกำลังกาย ผู้เลี้ยงสามารถปล่อยให้ชิวาวาไปออกกำลังกายได้เองภายในสวนหรือพื้นที่จำกัด แต่ชิวาวาชอบที่จะออกไปเล่นกับเจ้าของมากกว่า

     ส่วนเรื่องสุขภาพนั้นโรคที่จะเกิดขึ้นกับชิวาวาก็จะเหมือนกับสุนัขพันธุ์อื่นทั่วๆ ไป ซึ่งโรคที่พบบ่อยคือ โรคลำไส้อักเสบกับไข้หัด สาเหตุของโรคทั้งสองเป็นโรคติดต่อซึ่งหากสุนัขตัวไหนไม่มีการฉีดวัคซีนแล้วไปถูกเชื้อเข้าก็จะติดต่อได้


 ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม
     ผู้เลี้ยงชิวาวาต้องมีเวลาพาสุนัขไปออกกำลังกายบ่อยๆ เพื่อควบคุมน้ำหนัก และต้องมีความรอบคอบในการดูแลสุนัข เนื่องจากชิวาวาเป็นสุนัขพันธุ์เล็กหากผู้เลี้ยงไม่มีความระมัดระวังอาจจะเผลอถอยรถเหยียบหรือพลัดหล่นจากมือตกลงมาตายหรือกัดสายไฟถูกไฟช๊อตตายได้ ดังนั้นการป้องกันอุบัติเหตุที่ดีที่สุดคือการใส่สุนัขไว้ในกรงตลอดเวลา




 มาตรฐานสายพันธุ์

ขนาด ตัวเล็ก ขนาดกะทัดรัด  

ศรีษะ หัวกะโหลกกลม แก้มค่อนข้างเล็ก

ฟัน ขาว แข็งแรง ขบแบบกรรไกร

ปาก กระปอกปากเล็ก ยาวกำลังพอดี ริมฝีปากสีดำ กระชับ

ตา ตากลมโต

หู หูมีขนาดใหญ่ ใบหูตั้งและที่หูมีขนยาว

จมูก สีดำ หรือ สีน้ำตาล ขึ้นอยู่กับสีขน

คอ คอกลม หัวไหล่เล็ก ถ้าพันธุ์ขนยาวจะมีขนดก

อก อกกว้างพอดีกับช่วงตัว  รับกับช่วงคอได้ดี

ลำตัว ความยาวของตัวยาวกว่าความสูง หลังตรง

เอว -

ขาหน้า ขาหน้าตรง ขนานกัน มีกล้ามเนื้อกำลังพอดี  

ขาหลัง ขาหลังตรงไม่บิด ห่างกันพอเหมาะเท้าเล็ก นิ้วเท้าเรียงชิด เล็บค่อนข้างยาว

หาง หางค่อนข้างยาว โค้งเหมือนเคียว บางตัวอาจจะม้วนหางยกสูง

ขน ชนิดขนสั้น ค่อนข้างนุ่มและสั้นทั่วทั้งตัว ชนิดขนยาวจะยาวเป็นพิเศษตรงบริเวณหู อก ลำตัว

สีขน มีหลายสี และสีสม่ำเสมอทั้งตัว แต่อาจจะจางๆเป็นบางส่วน


ข้อควรจำ
     ระวังอย่าให้ศีรษะได้รับการกดหรือการกระแทก เพราะน้องชิวาวามีความเสี่ยงที่กระโหลกหน้าผากจะปิดไม่สนิทแม้จะอยู่ในช่วงโตเต็มวัย นอกจากนี้ ฟันของชิวาวามักมีหินปูนจับบ่อย จึงต้องพาไปหาสัตวแพทย์ ปีละ1-2ครั้ง


ที่มา :
www.pedigree.co.th / www.petloversclub.com / http://en.wikipedia.org

ภาพประกอบ :
http://www.dogbreedinfo.com/chihuahua.html
http://all-dog-breed-information.blogspot.com/2011/10/chihuahua.html
http://bunkblog.net/dog-breeds/chihuahua/chihuahua-temperament